top of page
Writer's pictureAccountingAIS03

บทที่ 10 การพัฒนาและการใช้ระบบข้อมูลการบัญชีที่มีประสิทธิภาพ

Updated: Apr 1, 2019

การพัฒนา

การพัฒนา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่มีการกระทำให้เกิดขึ้น หรือมีการวางแผนกำหนดทิศทางไว้ล่วงหน้า โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ถ้าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดีก็ไม่เรียกว่าการพัฒนา

วงจรการพัฒนาระบบ

วงจรการพัฒนาระบบ คือ กระบวนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ โดยภายในวงจรนั้นจะแบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็นกลุ่มงานหลัก ๆ ดังนี้

- ด้านการวางแผน (Planning Phase)

- ด้านการวิเคราะห์ (Analysis Phase)

- ด้านการออกแบบ (Design Phase)

- ด้านการสร้างและพัฒนา (Implementation Phase)

ความสำคัญ ระบบสารสนเทศทั้งหลายมีวงจรชีวิตที่เหมือนกันตั้งแต่เกิดจนตายวงจรนี้จะเป็นขั้นตอน ที่เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อย เป็นระบบที่ใช้งานได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าในแต่ละขั้นตอนจะต้องทำอะไร และทำอย่างไร


ขั้นตอนการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอน คือ

1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)

2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)

3. วิเคราะห์ (Analysis)

4. ออกแบบ (Design)

5. สร้างหรือพัฒนาระบบ (Construction)

6. การปรับเปลี่ยน (Conversion)

7. บำรุงรักษา (Maintenance)


1. การวางแผนระบบ (System Planning)

เป็นขั้นตอนแรกสุดของการพัฒนาระบบสารสนเทศ ในการวางแผนระบบสารสนเทศนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อการตรวจสอบระบบงานเบื้องต้น (Initial Investigation) เช่น

- การรับรู้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นของระบบงานเดิม

- การหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดจากระบบงานเดิม

- การทำการศึกษาความเป็นไปได้ในแง่มุมต่างๆ เช่น ต้นทุนและทรัพยากร

- การรวบรวมความต้องการจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น การรวบรวมเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต และการออกแบบสอบถาม ดังนั้น จึงต้องมีการสำรวจเบื้องต้น (Preliminary Investigation) เพื่อศึกษาสิ่งต่อไปนี้

1. การกำหนดปัญหาและความต้องการ (Determination of Problems and Requirements) ตัวอย่างปัญหาที่เกิดจากระบบงานเดิม เช่น

- ระบบเดิมไม่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ หรือขาดการประสานงานที่ดี

- ระบบเดิมอาจไม่สนับสนุนงานในอนาคต

- ระบบเดิมมีองค์ประกอบของเทคโนโลยีไม่เหมาะสมหรือล้าสมัย

- ระบบเดิมมีการดำเนินงานที่ผิดพลาดบ่อย

2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Specification of Objectives) เป็นการกำหนดให้แน่ชัดว่าจะแก้ไขปัญหาอะไรบ้างจากปัญหาทั้งหมด

3. การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) หรือความเหมาะสม ซึ่งพิจารณาจาก

- ความเป็นไปได้ทางเทคนิค (Technical Feasibility) คือความเป็นไปได้ในการสร้างระบบงานใหม่ เช่น การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยหรือการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ

- ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงาน (Operational Feasibility) คือความเป็นไปได้ที่ระบบงานใหม่จะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งต้องคำนึงถึงทักษะของผู้ใช้ด้วย

- ความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economic Feasibility) คือความเป็นไปได้ในเรื่องงบประมาณ เงินลงทุน ค่าใช้จ่าย และความคุ้มค่า

2. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)

เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบงานปัจจุบันหรือระบบงานเดิม ซึ่งอาจเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ก็ได้ เพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดของระบบงานที่ใช้อยู่ ข้อดี ข้อเสีย ทรัพยากร และความเหมาะสมของระบบงานในแต่ละส่วน เพื่อเตรียมการปรับเปลี่ยนให้เป็นระบบสารสนเทศใหม่ สิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ระบบมีดังนี้

- วิเคราะห์ถึงปัญหาหลักและปัญหารองที่เกิดขึ้นในระบบ (Redefine the Problem)

- ทำความเข้าใจถึงระบบงานเดิม (Understand Existing System)

- กำหนดความต้องการของผู้ใช้ระบบ และข้อจำกัดในการใช้ระบบงานใหม่ (User Requirements and Constrains) เสนอทางเลือกในการออกแบบระบบ โดยการสร้างแบบจำลองเชิงตรรกะ (Logical Model) เช่น Database Model Diagram, ER Source Model และ ORM Diagram ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยส่วนใหญ่มักวิเคราะห์ออกมาในรูปของแผนภาพการไหลของข้อมูล (DFD : Data Flow Diagram) ซึ่งเป็นแผนภาพที่แสดงการไหลของข้อมูลทั้งระบบ และช่วยในการสื่อสารระหว่างนักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้ระบบ

3. การออกแบบระบบ (System Design)

เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบมาพัฒนาเป็นรูปแบบทางกายภาพ (Physical Model) โดยเริ่มจากการออกแบบงานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ทั้งในส่วนนำข้อมูลเข้า (Input) ส่วนประมวลผล (Process) ส่วนแสดงผลลัพธ์ (Output) ส่วนจัดเก็บข้อมูล (Storage) การออกแบบจำลองข้อมูล การออกแบบรายงานและการออกแบบหน้าจอในการติดต่อกับผู้ใช้ระบบ ซึ่งจะต้องมุ่งเน้นการวิเคราะห์ว่าช่วยแก้ปัญหาอะไร (What)และการออกแบบช่วยแก้ปัญหาอย่างไร (How)

4. การติดตั้งระบบ (System Implementation)

เป็นขั้นตอนการส่งมอบระบบงานเพื่อนำไปใช้จริง โดยจะรวมถึงการจัดเตรียมแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลของระบบ การอบรมผู้ที่เกี่ยวข้อง การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมมาใช้ระบบงานใหม่ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่จะติดตั้ง อุปกรณ์ที่ใช้ และผู้เชี่ยวชาญหรือทีมงานด้านเทคนิค (Technical Support) ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงติดตั้งโปรแกรมให้ครบถ้วน

5. การดูแลรักษาระบบ (System Maintenance)

เป็นขั้นตอนสุดท้ายในวงจรพัฒนาระบบ ซึ่งเป็นขั้นตอนการดูแลแก้ไขปัญหาระบบงานใหม่ ในขั้นตอนนี้ถ้าเกิดปัญหาจากโปรแกรม โปรแกรมเมอร์จะต้องเข้ามาแก้ไข หรือผู้ใช้อาจมีความต้องการวิธีการทำงานใหม่ๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้การดูแลรักษาระบบจะเป็นขั้นตอนในส่วนที่เกิดตามมาภายหลังที่ได้มีการติดตั้งและใช้งานระบบแล้ว

วงจรการพัฒนาระบบ

- องค์กรศึกษาและปรับระบบบัญชีใหม่เนื่องจาก

1. ระบบปัจจุบันของพวกเขาไม่มีประสิทธิภาพ

2. ต้องรวมระบบบัญชีสองระบบขึ้นไป

3. พลังห้องอินเทอร์เน็ตส่งเสริมการพัฒนาของเว็บ

- งานพัฒนาระบบ

- เริ่มต้นด้วยการตรวจสอบอย่างเป็นทางการของระบบข้อมูลที่มีอยู่

- ดำเนินการโดย

1. มืออาชีพในบ้านในองค์กรขนาดใหญ่

2. ทีมที่ได้รับการว่าจ้างจากที่ปรึกษาภายนอกในองค์กรขนาดเล็ก

ขั้นตอนในวงจรการพัฒนาระบบ

การวางแผนและการสอบสวนที่เกี่ยวข้อง

- การตรวจสอบเบื้องต้นของระบบปัจจุบัน

- การจัดทีมศึกษาระบบและ

- การพัฒนาแผนกลยุทธ์

การวิเคราะห์เกี่ยวข้องกับ

- วิเคราะห์ระบบปัจจุบันของ บริษัท และ

- ระบุความต้องการจุดแข็งและจุดอ่อน

- การใช้งานการติดตามและการดำรงรักษารวมถึง

- การรับทรัพยากรสำหรับระบบใหม่

- การฝึกอบรมพนักงานใหม่หรือที่มีอยู่

- ระบุปัญหาใหม่ใดๆ

การศึกษาระบบและระบบสารสนเทศทางการบัญชี

การศึกษาระบบ การเป็นส่วนหนึ่งของงานที่มากขึ้นของการปรับรื้อหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งของระบบหลักขององค์กร

การศึกษาระบบดู

- แอพพลิเคชั่นซึ่งรวมถึง

1. ระบบองค์กร

2. ระบบข้อมูลพิเศษอื่นๆ

3. ระบบแยกมากมายสำหรับพื้นที่ทำงาน

การศึกษาระบบและระบบสารสนเทศทางการบัญชี

การศึกษาในระบบ (Formal Education) หมายถึง เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบและระบบแบบแผนชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์ หลักสูตรวิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดผล และการประเมินผลที่แน่นอน ซึ่งการศึกษาในระบบของไทยประกอบไปด้วยการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถูกแบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ยังถูกแบ่งเป็นประเภทสามัญศึกษาและประเภทอาชีวศึกษาอีกด้วย สำหรับในการศึกษาขั้นอุดมศึกษานั้น แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆคือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก

- การปรับเปลี่ยนระบบข้อมูลที่มีอยู่

- การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน

- การเปลี่ยนงานรวบรวมและบันทึกข้อมูล

- การปรับปรุงความรับผิดชอบของพนักงานและ

- การปรับปรุงวิธีการให้รางวัลแก่บุคลากร

การวางแผนและการตรวจสอบระบบ

1. คณะศึกษาและคณะกรรมการอำนวยการ

- ผู้บริหารระดับสูงที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของระบบใหม่

2. การตรวจสอบรายงานระบบปัจจุบัน

- ปัญหาหรือวัตถุประสงค์ที่ทีมวิจัยระบุ

- วิธีแก้ปัญหาหรือทางเลือกที่ตรวจสอบและ

- หลักสูตรเพิ่มเติมที่แนะนำ

คณะกรรมการอำนวยการ

คณะกรรมการอำนวยการการเชื่อมต่อระหว่างการจัดการของ บริษัท และทีมการศึกษา รวมถึงผู้บริหารระดับสูง เช่น ตัวควบคุมรองประธานฝ่ายการเงิน ผู้จัดการระบบสารสนเทศระดับสูง ตรวจสอบพนักงานหนึ่งคนขึ้นไปและ CEO (สำหรับโครงการที่สำคัญมาก)

การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ (System Analysis and Design)

การวิเคราะห์และออกแบบระบบคือ วิธีการที่ใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใหม่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งหรือระบบย่อยของธุรกิจ นอกจากการสร้างระบบสารสนเทศใหม่แล้ว การวิเคราะห์ระบบ ช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วยก็ได้ การวิเคราะห์ระบบก็คือ การหาความต้องการ (Requirements) ของระบบสารสนเทศว่าคืออะไร หรือต้องการเพิ่มเติมอะไรเข้ามาในระบบ และการออกแบบก็คือ การนำเอาความต้องการของระบบมาเป็นแบบแผน หรือเรียกว่าพิมพ์เขียวในการสร้างระบบสารสนเทศนั้นให้ใช้งานได้จริง ตัวอย่างระบบสารสนเทศ เช่น ระบบการขาย ความต้องการของระบบก็คือ สามารถติดตามยอดขายได้เป็นระยะ เพื่อฝ่ายบริหารสามารถปรับปรุงการขายได้ทันท่วงที ตัวอย่างรายงานการขายที่กล่าวมาแล้วจะชี้ให้เห็นว่าเราสามารถติดตามการขายได้

- ใช้เวลานานกว่าการตรวจสอบเบื้องต้น

- จัดทำรายงานระหว่างการให้กับคณะกรรมการอำนวยการ

ขั้นตอนในขั้นตอนการออกแบบระบบ

ก่อนที่จะเริ่มลงมือทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบนั้น จะต้องทราบถึงขั้นตอนและวิธีการในการวิเคราะห์และออกแบบ ซึ่งหมายถึง การทำการวิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน นั่นคือการนำเอาระบบงานปัจจุบันมาทำการวิเคราะห์ เพื่อค้นหาปัญหา (Problem Finding), กำหนดปัญหา (Problem Definition), และกำหนดวิธีการแก้ปัญหา (Problem Solving) ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมีวิธีการต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้สำหรับการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่านักวิเคราะห์ระบบจะนำวิธีการใดมาใช้ในขั้นตอนใด ต้องดูถึงความเหมาะสมของวิธีการกับขั้นตอนนั้น ๆ ด้วย

การประเมินความเป็นไปได้ของระบบ

การศึกษาความเป็นไปได้ เป็นการศึกษาเบื้องต้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อค้นหาว่าแนวทางที่เป็นไปได้ของการทำโครงการ ซึ่งอาจมีหลายแนวทาง ที่สามารถแก้ปัญหาของระบบได้โดยเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาที่น้อยที่สุด ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ แนวทางต่าง ๆ ที่ได้เสนอมานี้จะต้องมีการพิสูจน์ว่ามีความเหมาะสมหรือเป็นไปได้ และจะต้องเป็นที่ยอมรับจากผู้บริหารนักวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษาให้เกิดความชัดเจนให้ได้ว่า การแก้ปัญหาดังกล่าวนั้น มีความเป็นไปได้หรือไม่ โดยทั่วไปในการศึกษาความเป็นไปได้

จะพิจารณาจากปัจจัย 3 ประการ คือ

1. ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค (Technically Feasibility)

2. ความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติ (Operational Feasibility)

3. ความเป็นไปได้ด้านการลงทุน (Economic Feasibility)

ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค (Technically Feasibility)

การศึกษาความเป็นไปได้ด้านเทคนิค หรือด้านเทคโนโลยี จะทำการตรวจสอบว่า ภายในองค์กรมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ อุปกรณ์ต่อพ่วง รวมทั้งเครื่องมืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่จำนวนเท่าใด เพียงพอหรือไม่ ถ้ามี สมรรถนะของเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับใด ถ้าไม่มี จะซื้อได้หรือไม่ ซื้อที่ไหน นอกจากนี้ ซอฟแวร์จะต้องพัฒนาใหม่ หรือต้องซื้อใหม่ เป็นต้น

ความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติ (Operational Feasibility)

การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องพิจารณาดูว่าแนวทางแต่ละแนวทางที่จะใช้แก้ไขปัญหานั้น จะต้องสนองความต้องการของผู้ใช้ระบบหรือไม่เพียงใด จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิธีการทำงานของผู้ใช้ระบบหรือไม่อย่างไรและมีความพึงพอใจกับระบบใหม่ในระดับใด นอกจากนี้ จะต้องพิจารณาว่าบุคลากรที่จะพัฒนาและติดตั้งระบบมีความรู้ความสามารถหรือไม่ และมีจำนวน เพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่เพียงพอจะหาได้หรือไม่ และระบบใหม่สามารถเข้ากันกับการทำงานของระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือไม่

ความเป็นไปได้ด้านการลงทุน (Economic Feasibility)

การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการลงทุน จะเป็นตรวจสอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของโครงการรวมทั้งเวลาที่จะต้องใช้ในการพัฒนาระบบ โดยพิจารณาว่าเป้าหมายของการทำโครงการที่ได้กำหนดไว้ สามารถทำให้สำเร็จได้ภายในวงเงินที่กำหนดไว้หรือไม่ และหากมีการดำเนินงานโครงการในขั้นต่อไปทั้งหมดจนจบ จะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ จะได้รับกำไรหรือผลประโยชน์จากระบบใหม่คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงระบบ ซึ่งผู้บริหารจะตัดสินใจว่าควรจะดำเนินการต่อไปในขั้นตอนการวิเคราะห์ หรือจะยกเลิกโครงการทั้งหมดนักวิเคราะห์ระบบ จะต้องพิจารณาความเป็นไปได้ทั้ง 3 ด้านดังกล่าว เพื่อที่จะใช้เลือกแนวทางการพัฒนาระบบงานที่มีความเป็นไปได้สูงสุด ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาความเป็นไปได้ของนักวิเคราะห์ระบบ ก็คือ การเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ พร้อมทั้งการประมาณการค่าใช้จ่าย และกำไรที่คาดว่าจะได้รับ รวมทั้งรายละเอียดอื่น ๆ ที่ระบบใหม่ต้องการใช้

การออกแบบระบบโดยละเอียด

- การสร้างต้นแบบ

- กำลังพัฒนาแบบจำลองที่ง่ายขึ้นของระบบ

- เป็นกระบวนการวนซ้ำของการทดลองใช้และแก้ไข

- ไม่แนะนำในกรณีที่อินพุทการประมวลผลและเอาท์พุทถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้ว

เอาท์ซอร์ส

Outsource (เอาท์ซอร์ซ) คือ การแบ่งงานที่ทำออกเป็นส่วนๆ บางส่วนจ้างคนภายนอกทำให้ โดยไม่มีผลต่องานภายใน ซึ่งช่วยลดขั้นตอนงานที่ไม่จำเป็น หรือ มีต้นทุนสูง เปลี่ยนไปซื้้อหรือ ว่าจ้างจากองค์กร หรือ ธุรกิจอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่า ซึ่งการทำ Outsource (เอาท์ซอร์ซ) นี้ มักจะทำกับงานที่เร่งด่วน จำเจ ขาดแคลนคน งานยากที่ต้องอาศัยผู้ที่ถนัดด้านนั้นเฉพาะ และงานจำพวกที่เยอะมากจนล้นมือคนในองค์กร

ประโยชน์ของ Outsource

1. บริษัท สามารถลดขนาดลง แต่ความสามารถเท่าเดิม

2. บริษัท สามารถ ต่อกรกับบริษัท ขนาดใหญ่ได้ แบบสูสี

3. บริษัท ลด cost ได้เป็นจำนวนมาก ทั้งด้าน คน สวัสดิการ เครื่องไม้เครื่องมือ

4. บริษัทสามารถ โฟกัส ไปที่สิ่งที่สำคัญต่อบริษัทมากกว่า เช่น ลูกค้า สัมพันธ์ การค้นคว้าวิจัย พัฒนา การตลาด เป็นต้น นั่นคือ ประสิทธิภาพ สูงขึ้น กำไรก็จะสูงขึ้นด้วย ทั้งต่อหน่วย และต่อจำนวนพนักงานบริษัท

ตัวอย่างการทำ Outsource

1.โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการผลิตสินค้า หรือการนำชิ้นส่วนมาประกอบกัน บางขั้นตอนโรงงานเหล่านั้นจะจ้างบริษัทภายนอกเป็นผู้รับไปทำ หากมีความชัดเจนว่ามีต้นทุนที่ต่ำกว่า

2. การทำ (เอาท์ซอร์ซ) บริการที่หน้าเคาน์เตอร์ของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นฝาก ถอน หรือการรับชำระหนี้บัตรเครดิต ตัวเลขที่ได้ออกมาสะท้อนให้เห็นว่าค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เรียกเก็บจากลูกค้า ไม่คุ้ม เพราะต้นทุนของกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นสูงกว่าค่าธรรมเนียมที่ได้มา และได้ทางออกในการแก้ปัญหาดังกล่าวตามมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การนำเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติมาให้บริการ

3. การทำ IT outsource (ไอที เอาท์ซอร์ซ) ในการทำ Website (เว็บไซต์) ขององค์กรต่างๆ ซึ่งมักจ้างบริษัทผู้ให้บริการด้านการ ออกแบบเว็บไซต์ พัฒนาเว็บไซต์ เข้ามาทำให้ เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย programmer, Web Design เนื่องจากการเรียกใช้บริการ IT outsource นั้นมักมีค่าใช้จ่ายที่ถูกว่า การจ้าง Programmer (โปรแกรมเมอร์) เพื่อเขียน โปรแกรม แปะ web design (เว็บ ดีไซด์) เพื่อออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงาม มาทำให้โดยเฉพาะ

6.การตรวจสอบหลังการใช้งาน

- การประเมินสิทธิภาพของระบบใหม่โดย

- การทดสอบกับบุคลากรเกี่ยวกับความพึงพอใจกับระบบใหม่

- การพูดคุยกับผู้ใช้เพื่อยืนยันความพึงพอใจ

- การประเมินขั้นตอนการควบคุมของระบบ

- สังเกตประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานเพื่อกำหนดประสิทธิภาพ

- การประเมินประสิทธิภาพของฟังก์ชั่นการประมวลผลคอมพิวเตอร์

- การกำหนดตารางเวลาสำหรับทั้งรายงานภายในและภายนอกนั้นเป็นไปตามระบบคอมพิวเตอร์ใหม่

7.การบำรุงรักษาระบบ

การบำรุงรักษาระบบยังคงงานที่สร้างขึ้นโดยการศึกษาติดตามครั้งแรกยกเว้นว่าผู้เชี่ยวชาญจากระบบย่อยไอทีของ บริษัท จะทำการแก้ไขอย่างเฉพาะตัวระบบย่อยไอทีมีหน้าที่รับผิดชอบในการตอบสนองต่อข้อผิดพลาดและความผิดปกติในระบบประเมินค่าใช้จ่ายในการแก้ไขและดำเนินการแก้ไขที่จำเป็น


อ้างอิง

https://sites.google.com/site/ooad5605110042/sdlc/kar-wangphaen-rabb-system-planning


1,580 views0 comments

Comentarios


bottom of page