top of page
Writer's pictureAccountingAIS03

บทที่ 15 การสร้างแบบฟอร์มฐานข้อมูลและรายงาน

ความหมายของฟอร์ม

ฟอร์มคือวัตถุฐานข้อมูลที่คุณสามารถใช้เพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้สำหรับโปรแกรมประยุกต์ฐานข้อมูล ฟอร์ม "ที่ถูกผูกไว้" คือฟอร์มที่เชื่อมต่อโดยตรงกับแหล่งข้อมูล เช่น ตารางหรือแบบสอบถาม และสามารถใช้เพื่อใส่ แก้ไข หรือแสดงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลนั้น อีกทางเลือกหนึ่งคือ คุณสามารถสร้างฟอร์ม "ที่ไม่ถูกผูกไว้" ซึ่งไม่เชื่อมโยงโดยตรงกับแหล่งข้อมูล แต่ยังคงมีปุ่มคำสั่ง ป้ายชื่อ หรือตัวควบ

คุมอื่นๆ สามารถใช้ฟอร์มที่ถูกผูกไว้เพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูล เช่น เขตข้อมูลหรือแถวของข้อมูลที่จะแสดง ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้บางรายอาจจำเป็นต้องดูเพียงเขตข้อมูลจำนวนหนึ่งในตารางที่มีเขตข้อมูลจำนวนมาก การจัดให้ผู้ใช้เหล่านั้นมีฟอร์มที่มีเฉพาะเขตข้อมูลดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้ใช้ฐานข้อมูลได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ คุณสามารถเพิ่มปุ่มคำสั่งและคุณลักษณะอื่นๆ ลงในฟอร์มเพื่อทำให้การกระทำที่ดำเนินการบ่อยเป็นแบบอัตโนมัติได้

ประเภทของฟอร์ม

1. ฟอร์มเดี่ยวหรือแบบคอลัมน์ใช้แสดงหน้าละ 1 เรคคอร์ด และสามารถสร้างปุ่มคำสั่งบนฟอร์ม

2. ฟอร์มต่อเนื่องหรือแบบแถวใช้แสดงได้หลายเรคคอร์ดต่อ 1 หน้า และสามารถสร้างปุ่มคำสั่งบนฟอร์ม

3. ฟอร์มแบบตารางข้อมูลใช้แสดงได้หลายเรคคอร์ดต่อ 1 หน้า มีความสะดวกในการใช้ร่วมกับคีย์บอร์ด แต่ไม่สามารถสร้างปุ่มคำสั่งบนฟอร์ม

โครงสร้างของแบบฟอร์ม

การเขียนโครงสร้างแบบฟอร์มใน xhtml ใน tag ต่าง ๆ ที่จะทำงานร่วมกับโครงสร้างแบบฟอร์มกันก่อนโดยจะกล่าวแบ่งตามประเภทของ (Block Element และ Inline Element) และ สิ่งที่กล่าวถึงจะเป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับ Data Entry (การใส่ข้อมูล) ของแบบฟอร์มส่วนโครงสร้างร่วมอื่น ๆ ให้พิจารณาตามความเหมาะสมอาจจะใช้ ul, ol หรือ dl ไม่แนะนำให้ใช้ table ในการจัด layout ของ form มาทำความรู้จักกับ tag ที่ทำงานร่วมกับ Data Entry ต่าง ๆ

Block Element ที่อยู่ในโครงสร้างของ Form

1. form เป็นตัวบ่งบอกว่า โครงสร้าง xhtml ต่อไปนี้เป็นแบบฟอร์มให้ผู้ใช้กรอกข้อมูล

2. fieldset เป็นตัวจัดกลุ่มของแบบฟอร์มใน หนึ่งโครงสร้าง (จัดให้เป็นสัดส่วน) Inline Element ที่อยู่ในโครงสร้างของ Form

1. input ชนิดต่าง ๆ แบ่งตาม attribute

2. select ตัวนี้เราจะรู้จักในนามของพวก Drop Down List ต่าง ๆ

3. เมื่อมีการใช้ select มันก็จะมาพร้อมกับ option เพื่อที่จะทำเป็น list ของ drop down ให้เราเลือกใช้

4. ถ้า drop down นั้นมีการจำแนกเป็นกลุ่ม ๆ เราก็ใช้แบ่งมันด้วย optgroup เสียก่อน

5. legend เป็นการบอกชื่อ กลุ่มของแบบฟอร์มที่เราแบ่งไว้ แน่นอนครับมันต้องใช้คู่กับ fieldset

6. label ใช้เพื่อครอบชื่อของ Data Entry ต่าง ๆ เพื่อบอกว่านี่เป็นชื่อของ Data Entry ตัว ไหน

7. textarea บริเวณที่เรากรอกข้อมูลแบบหลายบรรทัด

การสร้างฟอร์มย่อยและรายงานย่อย (Subform/Subreport)

การสร้างฟอร์มย่อยและรายงานย่อย (Subform/Subreport) จะเกิดขึ้นเมื่อการออกแบบข้อมูล 1 รายการ (Record) มีการสร้างข้อมูลย่อยอีกหลายรายการ เช่น การลงทะเบียนนักศึกษา 1 คนสามารถลงทะเบียนได้มากกว่า 1 วิชา หรือการเช่าหนังสือของผู้เช่า 1 รายสามารถเช่าหนังสือได้มากกว่า 1 เรื่อง หรือ การออกแบบใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ซื้อสินค้า 1 รายซึ่งสามารถซื้อสินค้าได้มากกว่า 1 ชนิดหรือมากว่า 1 รายการ ฯลฯ

ตัวอย่าง

การออกแบบฟอร์มเพื่อบันทึกการจำหน่ายสินค้าหรือพิมพ์ใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า โดย ใบเสร็จรับเงิน 1 ใบ ประกอบด้วย เลขที่ใบเสร็จ วันที่ขาย ชื่อลูกค้า และออกแบบรายการย่อยเพื่อจำหน่ายสินค้าและรายการ ประกอบด้วย รหัสสินค้า ชื่อสินค้า ราคา/หน่วย จำนวน ราคารวม

1) ออกแบบตาราง เพื่อนำมาออกแบบบนฟอร์มทั้งหมด 3 ตาราง โดยมีโครงสร้างดังต่อไปนี้

ตาราง goods


ตารางชื่อ invoice


ตารางชื่อ sale_goods

2) ออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างตาราง

โดยการกำหนดให้ตารางชื่อ invoice เป็นฐานข้อมูล และกำหนดให้เขต ข้อมูล no (เลขที่ใบเสร็จ) มีคุณสมบัติเป็นคีย์หลัก เพื่อนำไปเชื่อมเขต ข้อมูล no (เลขที่) ในตารางชื่อ Sale_goods และกำหนดให้ตารางชื่อ goods เป็นฐานข้อมูล และกำหนดให้เขตข้อมูล g_code (รหัสสินค้า) มีคุณสมบัติเป็นคีย์หลัก เพื่อนำไปเชื่อมเขตข้อมูล no (เลขที่) ในตาราง ชื่อ sale_goods เช่นเดียวกัน โดยกำหนดความสัมพันธ์เป็นชนิดหนึ่งต่อกลุ่ม (one to many)


3) ออกแบบตารางแบบสอบถาม (Queries) เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างตาราง sale_goods และ goods และคำนวณราคารวมของสินค้าแต่ละรายการ

ขั้นตอนการออกแบบ

· เลือกเมนูสร้าง (Create) เลือกออกแบบแบบสอบถาม (Design View)

· เลือกตาราง sale goods และ goods

· เลือกเขตข้อมูล no, g_code, g_name, price, num

· ออกแบบเขตข้อมูลใหม่ชื่อ tot : [price] * [num] แล้วคลิกขวาเลือกคุณสมบัติ (Properties) และกำหนดป้ายคำอธิบาย (Caption) เป็น ราคารวม กำหนดรูปแบบ (Format) เป็น ฿#,###

· บันทึกตารางแบบสอบถาม (Queries) ชื่อ Q_Sale


ขั้นตอนการออกแบบฟอร์ม

· เลือกตาราง invoice เลือกเมนูสร้าง (Create) เลือก ตัวช่วยสร้างฟอร์ม (Form Wizard)

· เลือกเขตข้อมูล invoice ทุกเขตข้อมูล

· เลือกแบบสอบถามชื่อ Q_Sale เลือกเขตข้อมูล Q_Sale ทุกเขตข้อมูล

· เลือกการแสดงข้อมูล (View your data) แบบ By invoice

· เลือกประเภทฟอร์มแบบฟอร์มที่มีฟอร์มย่อย (Form with Subform(s))

· เลือกรูปแบบฟอร์ม (Style) ตามต้องการ

· ระบุชื่อฟอร์มหลัก และชื่อฟอร์มย่อย (subform) ตามต้องการ

· เลือก ปรับเปลี่ยนการออกแบบฟอร์ม (Design View) เลือก เสร็จสิ้น (Finish)

· จะเข้าสู่มุมมองออกแบบ ดับเบิลคลิกฟอร์มย่อย ลบเขตข้อมูล no (เลขที่) ออกจากฟอร์มย่อย เพราะจะมีการบันทึกอัตโนมัติทุกครั้งที่บันทึกรายการสินค้าบนฟอร์มย่อยแต่ละรายการ พร้อมปรับแต่งขนาด อักษร และรูปแบบตามความเหมาะสม (และกำหนดคุณสมบัติของกล่องข้อความ g_name, price และ tot เลือก เปิดใช้งาน=ไม่ใช่ เลือกล็อค=ใช่ เพราะจะแสดงตามการเชื่อมโยงระหว่างตารางและการคำนวณตามที่ออกแบบในแบบสอบถาม ห้ามแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง)

· กรณีต้องการสรุปผลข้อมูลในฟอร์มย่อยให้ออกแบบในส่วนของส่วนท้ายของฟอร์ม ในตัวอย่างต้องการหาค่าผลรวมทั้งหมดของราคารวม (tot) โดยการเลือกเครื่องมือ กล่องข้อความ (Text Box) คลิกขวาเลือกคุณสมบัติ (Properties) เลือกแหล่งระเบียน ระบุ =sum([tot]) ก็จะได้ค่าผลรวมที่ต้องการ พร้อมบันทึกฟอร์มย่อย (Subform)

· กลับมายังมุมมองฟอร์มหลักเพื่อกำหนดรูปแบบฟอร์มตามต้องการ พร้อมบันทึก จะได้ฟอร์มประเภทฟอร์มหลักที่มี ฟอร์มย่อย (Subform) ตามต้องการ



ความหมายของรายงาน (Report)

หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้จากตาราง/แบบสอบถาม (Table/Query) และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล มาจัดรูปแบบเพิ่มพิมพ์รายงานที่ได้จากการออกแบบพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ รายงานที่ได้สามารถแสดงออกได้ทั้งทางจอภาพ (Print Preview หรือภาพก่อนพิมพ์) และพิมพ์ลงกระดาษพิมพ์ (Print) การรายงานเหมาะสำหรับการแสดงข้อมูลที่มีจำนวนมาก เพราะสามารถจัดรูปแบบแต่ละหน้ากระดาษได้ดีกว่าการแสดงบนฟอร์ม ซึ่งมีขนาดจอภาพเป็นข้อจำกัดในการแสดง

ส่วนประกอบของรายงาน (Report)

1. Report Header

สำหรับทำเป็นหน้าปกแรกของรายงานหรือใช้สำหรับแสดงออบเจ็กต์ที่ทำงานเพียงครั้งเดียว

2. Page Header

ส่วนของ Page Header ซึ่งจะอยู่ด้านบนของทุกหน้ารายงานยกเว้นหน้าที่เป็น Report Header ซึ่งตามปกติแล้วเราจะเห็น Page Header ที่แต่ละหน้ารายงานเสมอ

3. Details

Details เป็นส่วนแสดงรายละเอียดของข้อมูลในรายงาน ถ้าหากมีรายงานมากหรือมีข้อมูลมากจะแสดง หลาย ๆ หน้า 4. Report Footer

Report Footer เป็นส่วนที่ทำงานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น คือสิ้นสุดรายงานที่ตรงไหนก็แสดงที่ตรงนั้น นำมาใช้แสดงยอดรวมของรายงานเสมอ

5. Page Footer

เป็นรายงานส่วนสุดท้ายที่แสดงที่ด้านล่างของหน้ารายงานที่เกิดจาก Detail และแสดงทุกหน้าที่มีรายงาน

การออกแบบรายงาน

การออกแบบรายงานต้องคำนึงการกำหนดตัว Control ลักษณะของรายงานและการจัดกลุ่ม ซึ่ง ตัว Control เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของรายงาน เช่นเดียวกับฟอร์มตัว Control แบบ Bound เป็น

1. ตัว Control ที่มีฟิลด์จาก Table หรือคิวรี่เป็นแหล่งข้อมูล

2. ตัว Control แบบ Unbound เป็นตัว Control ที่ไม่มีแหล่งข้อมูล แต่สามารถดึงค่าของฟิลด์มา ใช้ได้

3. ตัว Control แบบคำนวณ เป็นตัว Control ที่สร้างจาก Expression

การเจาะจงการแสดงข้อมูล

การเจาะจงการแสดงข้อมูล เป็นการควบคุมการแสดงผลให้มีความน่าสนใจคุณสมบัติที่สำคัญได้แก่

1. คุณสมบัติ Can Grow และ Can Shrink ใช้ควบคุมพื้นที่ตามปริมาณข้อมูล เมื่อมีการสั่งพิมพ์ รายงาน

2. คุณสมบัติซ่อนข้อมูล (Hide Duplicate) เพื่อซ่อนค่าของเรคคอร์ดที่ซ้ำกัน

3. คุณสมบัติผลรวมสะสม (Running Sum) ใช้การแสดงค่าสะสมให้กับแต่ละเรคคอร์ดของกลุ่มเดียวกัน

การกำหนดคุณสมบัติ

การกำหนดคุณสมบัติเป็นแนวคิดแบบ Object oriented programming โดยสามารถกำหนดค่าคุณสมบัติให้กับตัว Control และรายงานได้ ในกรณีตัว Control จะมีค่าคุณสมบัติเริ่มต้นจากฟิลด์ในการแสดงค่าแต่สามารถกำหนดเป็นค่าเฉพาะภายในฟอร์มให้เหมาะสมกับการใช้งานโดยมีกลุ่มคุณสมบัติ ดังนี้

1. Data กำหนดลักษณะข้อมูล และควบคุมค่าที่ป้อน

2. Event เป็นการใช้ Event ควบคุมโดยทำงานร่วมกันมาโคร หรือ Sub Procedure

3. Format กำหนดรูปแบบการแสดงผล เช่น จำนวนทศนิยม ตัวอักษร รูปแบบต่างๆ

4. Other กำหนดค่าคุณสมบัติอื่นๆ เช่น ชื่อตัว Control ข้อความที่แถบบอกสถานะ

การกำหนดหน้ากระดาษ (Page Setup)

เราสามารถตั้งค่าหน้ากระดาษเพื่อให้ตรงตามความต้องการของเราได้ เช่น ทิศทางการพิมพ์ ขนาดของกระดาษ หรือ หัวกระดาษที่เราต้องการกำหนดให้พิมพ์ทุกครั้งในหน้ากระดาษ เป็นต้น ซึ่งค่าตางๆ เหล่านี้เราสามารถกำหนดได้ที่แท็บ Page Layout ซึ่งใน Page Layout มีเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยให้เราสามารถจัดการกับหน้ากระดาษได้ดังต่อไปนี้


· Margins : ระยะจากขอบกระดาษ หรือระยะที่ถูกเว้นวางไว้จากขอบกระดาษถึงจุดที่เรากำหนด

· Orientation : ทิศทางของหน้ากระดาษ ซึ่งเราสามารถกำหนดได้ว่าเป็นแนวนอน หรือแนวตั้งSize : ขนาดของกระดาษที่ใช้พิมพ์งาน

· Print Area : กำหนดพื้นที่บางส่วนของ Worksheet ที่ต้องการพิมพ์งาน

· Break : เป็นการกำหนดขอบเขตของเอกสารเพื่อเป็นการบังคับให้ขึ้นหน้าใหม่

· Background : เพิ่มพื้นหลังให้แก่เอกสาร

· Print Title : เป็นการกำหนดแถว หรือคอลัมน์ที่เราต้องการให้พิมพ์ในเอกสารทุกหน้า หรือการกำหนดหัว และท้ายกระดาษ


- Width : กำหนดให้เอกสารมีความกวางขนาดพอดีกับกระดาษจำนวนกี่หนา

- Height : กำหนดให้เอกสารมีความยาวขนาดพอดีกับกระดาษจำนวนกี่หนา

- Scale : กำหนดให้เอกสารมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือเล็กลงกี่เปอร์เซ็นตามคำที่กำหนด

ตัวอย่างก่อนพิมพ์ (Print Preview)

หมายถึง การนำรายงานที่ออกแบบแล้วแสดงตัวอย่างก่อนพิมพ์ตามรูปแบบและขนาดกระดาษที่กำหนดในการตั้งค่าหน้ากระดาษ ในขณะอยู่ที่ตัวอย่างก่อนพิมพ์ สามารถกำหนดขนาดหน้ากระดาษ เค้าโครงหน้า ย่อ/ขยาย และข้อมูล (บันทึกในรูปแฟ้มข้อมูลชนิดต่าง ๆ) บนแถบเครื่องมือ ตัวอย่างก่อนพิมพ์

การพิมพ์ (Print)

หมายถึง การนำตาราง/แบบสอบถาม (Table Query) ฟอร์ม (Form) หรือรายงาน (Report) ออกทางกระดาษพิมพ์ตามรูปแบบการตั้งค่าหน้ากระดาษบนเครื่องพิมพ์ที่กำหนดและติดต่ออยู่กับ CPU ที่ทำงานอยู่ สามารถกำหนดหน้าในการพิมพ์และจำนวนสำเนาที่ต้องการพิมพ์ โดยมีขั้นตอนการพิมพ์ต่อไปนี้


ส่วนประกอบของรายงาน

ส่วนประกอบตอนต้น

เป็นส่วนประกอบที่อยู่ตอนต้นเล่มของรายงานก่อนถึงเนื้อเรื่องประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

1. ปกนอก (Cover หรือ Binding)​ คือส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานประกอบด้วยปกหน้า สัน และปกหลัง ควรเป็นกระดาษแข็งพอสมควรสีสันเหมาะสมกับเนื้อหา หรืออาจใช้ปกของแต่ละสถาบันการศึกษาซึ่งได้จัดทำสำเร็จไว้แล้วก็ได้ อาจมีภาพหรือไม่ก็ได้ถ้ามีภาพควรให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง การจัดวางรูปแบบควรจัดให้สวยงามเหมาะสม ปัจจุบันการพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ทาให้สามารถออกแบบปกให้สวยงามได้อย่างสะดวกง่ายดาย ข้อความที่ปรากฏบนปกนอก ประกอบด้วย

1.1 ชื่อเรื่องของรายงาน อยู่ห่างจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมาประมาณ 1.5 – 2 นิ้ว และควรกะให้อยู่กึ่งกลางพอดี (ไม่มีคาว่ารายงานเรื่อง)

1.2 ชื่อผู้เขียนรายงาน ให้อยู่ตรงส่วนกลางของหน้ากระดาษ เขียนหรือพิมพ์ชื่อและนามสกุลของผู้เขียนรายงานในกรณีที่รายงานนั้นมีผู้เขียนหลายคนให้ใส่ชื่อทุกคนโดยจัดเรียงตามลาดับตัวอักษร

1.3 ส่วนล่างของหน้าปก ประกอบด้วยข้อความตามลาดับ ดังนี้

1.3.1 ชื่อของรายวิชาที่กำหนดให้เขียนรายงาน

1.3.2 ระดับชั้น

1.3.3 ชื่อของสถาบันการศึกษา

1.3.4 ภาคการศึกษา ปีการศึกษาที่ทารายงานบรรทัดล่างสุดของส่วนล่างปกควร ห่างจากขอบล่าง 1.5 – 2 นิ้ว บทนิพนธ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยอาจแตกต่างกันบ้าง ในราย

2. หน้าปกใน (Title Page)​ อยู่ต่อจากปกนอกและมีข้อความเช่นเดียวกับปกนอก ชื่อเรื่องของรายงานพิมพ์อยู่ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษ โดยให้ห่างจากขอบบนประมาณ 2 นิ้ว และห่างจากขอบกระดาษซ้ายและขวาเท่าๆ กันถ้าชื่อเรื่องยาวแบ่งเป็นสอง-สามบรรทัดตามความเหมาะสม ชื่อผู้เขียนรายงานโดยทั่วไปเขียนเฉพาะชื่อและนามสกุลไม่ต้องเขียนคานาหน้านาม เช่น นาย นาง

นางสาว ยกเว้นในกรณีที่ผู้เขียนมียศหรือบรรดาศักดิ์ เช่น ม.ร.ว ม.ล. หรือ ร.ต.ท. ฯลฯ ให้ใส่ไว้ด้วยใต้ชื่อผู้เขียนควรใส่เลขประจำตัวหรือรหัสประจำตัวนักศึกษาด้วย ตำแหน่งของชื่อผู้เขียนคือตรงกลางหน้ากระดาษ เว้นระยะจากขอบกระดาษซ้ายและขวาเท่าๆ กัน และอยู่ห่างจากข้อความส่วนบนและส่วนล่างของหน้ากระดาษเป็นระยะพอๆ กัน ในกรณีที่มีผู้เขียนหลายคนให้เขียนชื่อทุกคน เรียงตามลาดับอักษร และใส่รหัสประจำตัวไว้ต่อจากชื่อในบรรทัดเดียวกัน ส่วนข้อความที่แจ้งว่าเป็นรายงานการค้นคว้าประกอบ รายวิชาใด สถาบันศึกษาใด ภาคเรียนและปีการศึกษาใด จัดพิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหน้ากระดาษโดยให้บรรทัดสุดท้ายอยู่ห่างจากขอบล่างประมาณ 1 นิ้ว

3. คำนำ (Preface)​ คือส่วนที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของรายงานเรื่องนั้น รวมทั้งความสำคัญและขอบเขตของเนื้อหา นอกจากนั้นยัง อาจกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำ จนสำเร็จด้วยดี คำนำอาจมีเพียงย่อหน้าเดียว สอง หรือสามย่อหน้าก็ได้ขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสมของเนื้อหา คำนำไม่ควรเขียนยาวเกินไป ให้พิมพ์คำว่า “คำนำ” ไว้กลางหน้ากระดาษไม่ขีดเส้นใต้ห่างจากขอบบน 2 นิ้ว แล้วพิมพ์ข้อความในบรรทัดถัดลงมา เมื่อจบข้อความแล้วให้ลงชื่อ นามสกุลของผู้เขียน ถ้าทำงานเป็นกลุ่มให้ลงคำว่า “คณะผู้จัดทำ” และลงวันที่ เดือน (เขียนเต็มไม่เขียนย่อ) ปี (ไม่ต้องมีคำว่า พ.ศ.) กำกับไว้ด้วย

4. สารบัญ (Table of Contents)​ ให้เขียนหรือพิมพ์คาว่า “สารบัญ” ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ไว้กลางหน้ากระดาษห่างจากขอบบนลงมา2 นิ้ว มีลักษณะคล้ายโครงเรื่องอยู่หลังคำนำจัดทำเมื่อเขียนหรือพิมพ์รายงานเสร็จแล้ว เป็นหน้าที่บอก ชื่อตอน บท หัวข้อใหญ่หรือหัวข้อย่อยเรียมตามลำดับเนื้อหาในเล่ม มีเลขหน้าเริ่มต้นกำกับอยู่ด้านขวามือ พิมพ์ห่างขอบประมาณ 1 นิ้ว ข้อความในหน้าสารบัญให้เขียนหรือพิมพ์ห่างจากขอบซ้ายของหน้ากระดาษ 1.5 นิ้ว

5. สารบัญตารางหรือบัญชีตาราง (List of Tables)​ จัดทำเมื่องานเขียนนั้นมีตารางจานวนมาก และตารางเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเนื้อหา (ถ้างานเขียนนั้นทั้งเล่มมีตารางเพียงหนึ่งหรือสองตารางก็ไม่จาเป็นต้องทำหน้าสารบัญตาราง) เรียงไว้ต่อจากหน้าสารบัญเป็นหน้าที่แสดงให้ทราบถึงจำนวนตารางทั้งหมดในเนื้อเรื่องเรียงตามลำดับที่ปรากฏในรายงานซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านค้นหาได้สะดวก จัดหน้าลักษณะเดียวกับสารบัญโดยพิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษห่างจากขอบบนลงมา 2 นิ้ว พิมพ์คำว่า “บัญชีตาราง” หรือ “สารบัญตาราง” และเปลี่ยนคำว่า “บทที่”เป็น “ตารางที่”

6. สารบัญภาพประกอบหรือบัญชีภาพประกอบ (List of illustrations)​ อยู่ต่อจากหน้าบัญชีตาราง (ถ้ามี) เป็นหน้าที่บอกให้ทราบถึงจำนวนภาพประกอบ แผนผัง แผนที่ กราฟ แผนภาพทางสถิติต่างๆ หรือแผนภูมิ ทั้งหมดในเรื่องไปจนถึงภาคผนวก พิมพ์คำว่า “บัญชีภาพประกอบ” “สารบัญภาพ” “สารบัญแผนภูมิ” และเปลี่ยนคำว่า “บทที่” เป็น “ภาพที่” การกำกับหน้าในส่วนประกอบตอนต้นนั้นให้เริ่มนับตั้งแต่หน้าปกในเป็นต้นไปโดยใช้ตัวอักษรกากับ งานเขียนภาษาไทยใช้ ก ข ค…และงานเขียนภาษาอังกฤษใช้เลขโรมัน I II III…เรียงไปตามลาดับส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อหา (Text)เป็นส่วนที่เป็นเนื้อหาโดยละเอียดซึ่งผู้ทำรายงานได้เรียบเรียงขึ้นจากการศึกษาค้นคว้า จึงถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของงานเขียนทางวิชาการทุกประเภท ประกอบด้วย

1. บทนำ (Introduction)​ เป็นสิ่งแรกที่จะทาให้ผู้อ่านได้สัมผัสกับความคิดและกลวิธีการเขียนของผู้เขียน มีส่วนอย่างสำคัญในการจุดประกายความสนใจของผู้อ่านให้อยากติดตามอ่านต่อไป ถ้าบทนำไม่น่าสนใจ สับสน หรือคลุมเครือผู้อ่านจะไม่รู้สึกอยากอ่านดังนั้นบทนำจึงต้องชัดแจ้ง น่าอ่าน และกระตุ้นความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่แรกเริ่มของบทนิพนธ์บทนำอาจเป็นแค่เพียงย่อหน้าเดียวหรือทั้งบทก็ได้โดยทั่วไปแล้วความยาวของรายงานการค้นคว้ามีผลต่อความยาวของบทนำ รายงานฉบับเล็กๆ อาจจะมีความนำที่เรียบเรียงอย่างน่าอ่านเพียงหนึ่งย่อหน้าที่เรียกว่าย่อหน้านำในขณะที่ภาคนิพนธ์เรื่องยาวๆ อาจจะมาบทนำแยกต่างหากหนึ่งบทสำหรับบทนาที่แยกเป็นบทจะจัดอยู่ในบทที่ 1 โดยเขียนแบบเดียวกับบทอื่นๆ คือกลางหน้ากระดาษ บรรทัดแรกเขียน “บทที่ 1” และบรรทัดถัดลงมาใช้ชื่อบทว่า “บทนำ” หรืออาจใช้ชื่อบทเป็นอย่างอื่นตามความเหมาะสม ในกรณีที่เขียนบทนำอย่างสั้นแต่เนื้อหาอื่นๆ แบ่งเป็นบทอาจใช้หัวข้อว่า “บทนำ” หรือ “ความนำ” โดยไม่ต้องมีคำว่า บทที่ เนื้อความที่เรียบเรียงลงในบทนำเป็นการปูพื้นให้ผู้อ่านเข้าใจความเป็นมาของเรื่อง ความมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่องหรือสภาพปัญหาที่ต้องการนำเสนอ หรือความบันดาลใจของเรื่องทั้งนี้เพื่อเป็นการนำผู้อ่านเข้าสู่เนื้อเรื่องให้ผู้อ่านมองเห็นภาพรวมของเนื้อเรื่องทั้งหมด

2. ส่วนเนื้อหา (Body of Paper)​ เป็นส่วนที่เสนอเรื่องราวสาระทั้งหมดของรายงานการค้นคว้า การนำเสนอเนื้อหาอาจแบ่งเป็นบทหรือเป็นตอนเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นประเด็นสำคัญของเนื้อหาตามลาดับและต่อเนื่องกัน ส่วนการจะแบ่งเป็นบทหรือเป็นตอน หรือ เป็นหัวข้ออย่างไรและมีจานวนมากน้อยเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะ ขอบเขต และความสั้นยาวของเนื้อเรื่องถ้าเป็นรายงานการค้นคว้าขนาดสั้นไม่จำเป็นต้องแบ่งเป็นบทหรือตอนก็ได้เพียงแต่แบ่งตามหัวข้อสำคัญๆ ของเนื้อเรื่องให้เหมาะสมแต่ถ้าเป็นภาคนิพนธ์ขนาดยาวควรแบ่งเป็นบทหรือตอนให้ชัดเจน

3. บทสรุปหรือสรุป​ (Conclusion) คือส่วนที่เขียนย้ำหรือเน้นประเด็นสำคัญของเนื้อหาหรือสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า เช่นเดียว กับที่บทนาเป็นความสำคัญขั้นแรกในการชักจูงให้ผู้อ่านสนใจติดตามเนื้อเรื่อง บทสรุปก็มีบทบาทสำคัญในการทำให้ผู้อ่านจับ ประเด็นของเนื้อเรื่องที่ได้อ่านไปทั้งหมด บทสรุปจะอยู่ตอนท้ายของเนื้อเรื่อง อาจแยกเป็นบทตากหากหรือเป็นเพียงย่อหน้าท้ายๆ ของเรื่อง

ส่วนประกอบตอนท้าย (back matter หรือ reference matter)

เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย

1. หน้าบอกตอน (Half Title Page)​ คือหน้าที่พิมพ์ข้อความไว้กลางหน้ากระดาษเพื่อบอกว่าส่วนที่อยู่ถัดไปคืออะไร ส่วนใหญ่แล้วหน้านี้จะปรากฏในส่วนประกอบตอนท้ายของรายงานการค้นคว้า เช่น หน้าบอกตอน “บรรณานุกรม” หน้าบอกตอน “ภาคผนวก” และหน้าบอกตอน “ดรรชนี”

2. บรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง (Bibliography หรือ References)​ เป็นรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ใช้ประกอบการค้นคว้า รายการวัสดุอ้างอิงทุกชิ้นที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาต้องมาปรากฏอยู่ในบรรณานุกรมด้วย แต่อาจมีบางรายการที่มีอยู่ในบรรณานุกรมแต่ไม่ปรากฏในการอ้างอิงเพราะผู้เขียนเพียงแต่ได้แนวคิดมาจากวัสดุนั้นแต่ถ้าใช้คำว่าเอกสารอ้างอิง รายการที่อยู่ในเนื้อหาและในรายการเอกสารอ้างอิงต้องมีตรงกันทุกรายการ การเขียนบรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิงต้องเขียนให้ถูกต้องตามแบบแผน

3. ภาคผนวก (Appendix)​ คือส่วนที่นามาเพิ่มไว้ตอนท้ายของรายการเพราะไม่ใช่เนื้อหาที่แท้จริงหรือเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่อง แต่เห็นว่ามีประโยชน์เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของเนื้อเรื่องหรือช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจเรื่องราวได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้รายการการค้นคว้าไม่จาเป็นต้องมีภาคผนวกเสมอไปขึ้นอยู่กับความจาเป็นและความเหมาะสมของแต่ละเรื่อง

4. ดรรชนี หรือ ดัชนี (Index)​ คือบัญชีรายชื่อ หรือคำ หรือหัวข้อในเนื้อเรื่องที่นามาจัดเรียงไว้ตามลำดับอักษรพร้อมทั้งแจ้งเลขหน้าที่ปรากฏ ดรรชนีเป็นเครื่องมือช่วยให้ค้นเรื่องได้อย่างสะดวกรวดเร็ว


อ้างอิง

Radiz Sutthisoontorn, 2008-05-29

2,541 views0 comments

Comentários


bottom of page