กระบวนการทางธุรกิจ
กระบวนการทางธุรกิจ (Business process) คือ ขั้นตอนในการประกอบธุรกิจ โดยเริ่มตั้งแต่การนำเงินมาลงทุนในกิจการเพื่อใช้จ่ายเป็นค่าเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ ค่าแรง ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการบริหารงานด้านต่างๆ แล้วทำการจำหน่ายสินค้าหรือบริการออกไปเพื่อให้ได้มาซึ่งรายรับแก่ธุรกิจ หลังจากนั้นจึงนำไปหักค่าใช้จ่ายเพื่อดูผลได้สุทธิว่ากำไรหรือขาดทุน แล้วจึงนำเงินนั้นใช้เพื่อดำเนินธุรกิจ
บทบาทและขั้นตอนของกระบวนการทางธุรกิจ
การดําเนินธุรกิจเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตั้งแต่ยุคที่ เรายังไม่มีเงินเป็นสื่อกลางในการ แลกเปลี่ยน กระบวนการทางธุรกิจยังเป็นเรื่องง่ายๆไม่ซับซ้อน เช่น การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันเพื่อให้ได้ของที่ต่างฝ่ายต่างพอใจ แต่ในปัจจุบันกระบวนการทางธุรกิจถูกจัดทำให้มีรูปแบบที่ชัดเจนและถูกต้องโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องบังคับให้การทำธุรกิจดำเนินไปในทางที่ถูกที่ควร เราจึงควรมีความเข้าใจในกระบวนการทางธุรกิจที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในทุกวันนี้
กระบวนการทางธุรกิจเริ่มจากการที่เจ้าของนำเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นมาลงทุนในธุรกิจ ถ้าเงินสดมีไม่เพียงพอ อาจต้องกู้ยืมเพิ่มจากเจ้าหนี้หรือสถาบันการเงินต่างๆ จากนั้นจึงเริ่มนำเงินสดไปซื้อที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ต่างๆ หรืออาจใช้วิธีเช่าแทนการซื้อก็ได้ เมื่อกิจการเริ่มดำเนินการ ลักษณะของการดำเนินงานจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การค้าขาย หรือการให้บริการ โดยจะมีรายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตามลักษณะของแต่ละกิจการเมื่อรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายจะเกิดกำไร แต่ถ้าค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้จะเกิดผลขาดทุน ส่วนใหญ่ในช่วงแรกของการดำเนินธุรกิจจะเกิดผลขาดทุน เมื่อดำเนินงานมาสักระยะหนึ่งธุรกิจจึงมีกำไร เมื่อมีผลกำไร ธุรกิจจะแบ่งปันคืนเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นในรูปของเงินปันผล กำไรส่วนที่เหลือก็จะเก็บไว้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป
การหมุนเวียนของเงินสดในกระบวนการทางธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจที่พบเห็นโดยทั่วไป
ลักษณะทั่วไปของการดำเนินธุรกิจมี 3 ประเภท ได้แก่
1. กิจการให้บริการ (Service Firm) กิจการให้บริการจะมีรายได้หลัก คือ ค่าธรรมเนียมค่าบริการรับ รายจ่ายหลัก คือ เงินเดือนพนักงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าเช่าค่าสาธารณูปโภค และอื่นๆ รายจ่ายในกิจการให้บริการถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปัญหาที่เกิดขึ้นในกิจการให้บริการคือการวัดผลการดำเนินงาน ลักษณะของผลิตภัณฑ์จะไม่เห็นเป็นตัวตนที่ชัดเจน ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่นโรงพยาบาล สำนักงานกฎหมาย บริษัทที่ปรึกษา เป็นต้น
2. กิจการซื้อมาขายไป (Merchandising Firm) หมายถึง กิจการที่ซื้อขายสินค้าทั้งขายส่งและขายปลีกโดยไม่ใช่ผู้ผลิต รายได้หลักของกิจการ คือ เงินที่ขายสินค้าได้ ค่าใช้จ่ายจำแนกเป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนสินค้าขาย และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายของชำ เป็นต้น
3. กิจการผลิต (Manufacturing Firm) กิจการผลิตส่วนใหญ่จะมีโรงงานสำหรับผลิตสินค้า รายได้หลัก คือ เงินที่ได้จากการขายสินค้า ค้าใช้จ่าย คือ ต้นทุนในการซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างคนงาน และค่าใช้จ่ายในขบวนการผลิต ค่าใช้จ่ายทั้งสามส่วนนี้จะรวมเป็นต้นทุนสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในสำนักงานจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
วงจรบัญชี (Accounting Cycle)
วงจรบัญชี หมายถึง ลำดับขั้นตอนการจัดทำบัญชี การบันทึกเอกสารรายการค้าลงในสมุดรายวัน และการสรุปผลรายงานทางการเงินแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี วัตถุประสงค์ให้ได้ผลการดำเนินงานและสถานะทางการเงิน ทำให้กิจการได้นำมาใช้ในการวิเคราะห์ตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ว่าแต่วงจรบัญชีหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัฎจักรทางการบัญชี มีวิธีการจัดทำและบันทึกรายการอย่างไร
วงจรซื้อ
เมื่อมีการซื้อสินค้า เอกสารที่กิจการจะได้รับใบกำกับภาษีซื้อเป็นชุด (ต้นฉบับ และ สำเนา)
1. ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อที่ได้รับ มาจัดเรียงตามวันที่และใส่ลำดับเลขที่ใหม่ ดังนี้ เดือน…../ลำดับที่…….
2. ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ มาจัดทำรายงานภาษีซื้อ (เตรียมยื่นนำส่งภาษี ภ.พ.30)
3. ในกรณีที่เป็นใบกำกับภาษีซื้อต้องห้าม เช่น ใบกำกับภาษีซื้อค่าอาหาร ซื้อขนม เป็นต้น ให้นำมาหักออกจากรายภาษีซื้อ
4. ในกรณีใบกำกับภาษีซื้อล่าช้า สามารถล่าช้าได้ 6 เดือน ถ้าได้รับในเดือนใด ให้นำมาจัดทำรายงานภาษีซื้อในเดือนนั้น โดยให้หมายเหตุไว้ที่ใบกำกับภาษีด้วยว่า ถือเป็นใบกำกับภาษีซื้อเดือน…….
5. เมื่อลงรายการภาษีซื้อแล้ว ให้นำต้นฉบับใบกำกับภาษีเก็บเข้าแฟ้มเป็นหลักฐาน โดยเรียงตามลำดับที่ในรายงานภาษีซื้อ
6. นำสำเนาใบกำกับภาษีซื้อ มาจัดทำใบตรวจรับพัสดุ
7. นำใบตรวจรับพัสดุ มาบันทึกรายการในสมุดรายวันซื้อ พอสิ้นเดือนจึงสรุปยอด
วงจรขาย
เมื่อมีการขายสินค้า ต้องจัดทำใบกำกับภาษีขายขึ้น ต้องมีต้นฉบับ และสำเนา (ต้นฉบับ = 1+ สำเนา 5 )
1. นำรายการขายสินค้ามาจัดทำใบกำกับภาษีขาย แล้วนำต้นฉบับใบกำกับภาษีขาย + สำเนา 1 ใบ ให้ลูกค้า
2. นำสำเนาใบกำกับภาษีขายมาจัดทำรายงานภาษีขาย
3. นำใบกำกับภาษีขายมาบันทึกรายการในสมุดรายวันขาย สิ้นเดือนสรุปยอด
4. นำใบกำกับภาษีขาย มาจัดทำบัญชีคุมสินค้าทางด้านรายจ่าย
5. สิ้นเดือนรวมยอดต้นทุนสินค้าที่ขายในบัญชีคุมสินค้า บันทึกต้นทุนขายในสมุดรายวันทั่วไป
สมุดรายวันทั่วไป
สมุดรายวันทั่วไป (General Journal) คือ สมุดบัญชีขั้นต้นหรือสมุดรายวันที่ใช้จดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นทุกรายการ ถ้ากิจการนั้นไม่มีสมุดรายวันเฉพาะ แต่ถ้ากิจการนั้นมีการใช้สมุดรายวันเฉพาะ สมุดรายวันทั่วไปก็จะมีไว้เพื่อบันทึกรายการค้าอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นและไม่สามาถนำไปบันทึกในสมุดรายวันเฉพาะเล่มใดเล่มหนึ่งได้
จากรูปแบบของสมุดรายวันทั่วไปข้างต้น จะสามารถอธิบายถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ของสมุดรายวันทั่วไป ได้ดังนี้
1. จะต้องมีคำว่าสมุดรายวันทั่วไป (General Journal) อยู่หัวกระดาษตรงกลางเพื่อที่จะบอกว่าแบบฟอร์มที่จัดทำนี้คือสมุดรายวันทั่วไป
2. จะต้องมีเลขที่หน้าของสมุดรายวันทั่วไปอยู่ตรงมุมบนขวามือของกระดาษเพื่อบอกว่าสมุดรายวันทั่วไปที่บันทึกอยู่นี้เป็นหน้าที่เท่าไร
3. ช่องที่ 1 ของสมุดรายวันทั่วไปเป็นช่องที่แสดงวันที่ ของรายการค้าที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องเป็นวันที่ที่เรียงลำดับก่อนหลังของรายการค้าที่เกิดขึ้น ในการบันทึกรายการในช่องวันที่นั้น ให้บันทึกปีพ.ศ.ก่อน โดยบันทึกไว้อยู่ตรงกลาง ต่อมาบันทึกเดือน โดยบันทึกไว้ด้านหน้า แล้วต่อมาจึงบันทึกวันที่ หากวันต่อไปของรายการค้าที่จะต้องบันทึกบัญชีหากเป็นปีเดียวกัน เดือนเดียวกัน ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องบันทึก ปี พ.ศ. และเดือนใหม่อีก
4. ช่องที่ 2 เป็นช่องรายการ ใช้บันทึกรายการบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเดบิต รายการที่จะต้องบันทึกทางด้านเครดิต และคำอธิบายรายการ โดยในการบันทึกรายการในช่องนี้ให้บันทึกบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเดบิตก่อน โดยให้บันทึกทางด้านซ้ายของช่องให้ชิดเส้นซ้ายมือของช่อง หากรายการค้าใดที่มีบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเดบิตมากกว่า 1 บัญชีให้บันทึกบัญชีทางด้านเดบิตให้หมดเสียก่อน จากนั้นให้บันทึกบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเครดิต โดยเยื้องมาทางด้านขวามือเล็กน้อยประมาณหนึ่งนิ้วถึงหนึ่งนิ้วครึ่ง หากรายการค้าใดมีบัญชีที่จะต้องบันทึกทางด้านเครดิตมากกว่า 1 บัญชีให้บันทึกบัญชีทางด้านเครดิตให้หมด ซึ่งหลักการบันทึกบัญชีว่าบัญชีใดบันทึกทางด้านเดบิต และบัญชีใดบันทึกทางด้านเครดิตนั้น จะได้อธิบายต่อไปในหัวข้อหลักการบันทึกบัญชีคู่ จากนั้นให้เขียนคำอธิบายรายการเพื่ออธิบายว่าเกิดรายการค้าอะไรเกิดขึ้นจึงทำให้ต้องบันทึกบัญชีเช่นนั้น โดยการเขียนคำอธิบายรายการให้เขียนโดยชิดซ้ายติดกับเส้นทางด้านซ้ายของช่อง สุดท้ายให้ขีดเส้นใต้เพื่อแสดงการสิ้นสุดการบันทึกรายการค้านั้น ๆ ในการขีดเส้นใต้นี้ให้ขีดเส้นใต้เฉพาะช่องรายการเท่านั้น
5. ช่องที่ 3 เป็นช่องเลขที่บัญชี ใช้บันทึกเลขที่บัญชีที่บันทึกไว้ในช่องรายการทั้งทางด้านเดบิต และเครดิต ซึ่งเรื่องเลขที่บัญชีนี้จะได้อธิบายให้ละเอียดในหัวข้อถัดไป
6. ช่องที่ 4 เป็นช่องเดบิต ใช้บันทึกจำนวนเงินที่บันทึกบัญชีแต่ละบัญชีทางด้านเดบิต โดยแบ่งเป็น 2 ช่องย่อย คือช่องบาท และช่องสตางค์
7. ช่องที่ 5 เป็นช่องเครดิต ใช้บันทึกจำนวนเงินที่บันทึกบัญชีแต่ละบัญชีทางด้านเครดิต โดยแบ่งเป็น 2 ช่องย่อย คือช่องบาท และช่องสตางค์
สมุดรายวันเฉพาะ
สมุดรายวันเฉพาะ(Special Journal)คือ สมุดรายวันหรือสมุดบัญชีขั้นต้นที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ
1.1 สมุดรายวันรับเงิน (Cash Received Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการรับเงินเท่านั้น เช่น การรับรายได้ การรับชำระหนี้ เป็นต้น
1.2 สมุดรายวันจ่ายเงิน (Cash Payment Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินเท่านั้น เช่น จ่ายค่าใช้จ่าย ซื้อสินทรัพย์ จ่ายเงินชำระหนี้ เป็นต้น
1.3 สมุดรายวันซื้อ ( Purchases Journal ) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการซื้อสินค้าเป็น เงินเชื่อเท่านั้น
1.4 สมุดรายวันขาย (Sales Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น
1.5 สมุดรายวันส่งคืนสินค้า (Purchases Returns and Allowance Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการส่งคืนสินค้าที่ซื้อมาเป็นเงินเชื่อเท่านั้น
1.6 สมุดรายวันรับคืนสินค้า (Sales Returns and Allowance Journal) เป็นสมุดรายวันที่ใช้บันทึกรายการค้าที่เกี่ยวกับการรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินเชื่อเท่านั้น
สมุดบัญชีแยกประเภท (Ledger)
สมุดบัญชีแยกประเภท (Ledger) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger) เป็นสมุดที่รวบรวมหรือคุมยอดของบัญชีแยกประเภททุกบัญชี ซึ่งใช้บันทึก การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ (ทุน) ต่อจากการบันทึกลงในสมุดรายวันทั่วไป ได้แก่ บัญชีแยกประเภท สินทรัพย์ เช่น บัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้า บัญชีวัสดุสำนักงาน บัญชีอาคาร เป็นต้น บัญชีแยก ประเภทหนี้สิน เช่น บัญชีเจ้าหนี้การค้า บัญชีเงินกู้ บัญชีเจ้าหนี้อื่น ๆ เป็นต้น บัญชีแยกประเภทส่วนของเจ้าของ เช่น บัญชีทุน บัญชีรายได้ (Income) บัญชีค่าใช้จ่าย (expense) และบัญชีถอนใช้ส่วนตัว
2. สมุดบัญชีแยกประเภทย่อย (Subsidiary Ledger) เป็นที่รวบรวมของบัญชีแยกประเภทย่อยของบัญชีคุมยอด (Controlling Accounts) ในสมุดแยกประเภททั่วไป เช่น สมุดบัญชีแยกประเภทลูกหนี้รายตัว บัญชีเจ้าหนี้รายตัว ซึ่งยอดรวมของบัญชีแยกประเภท รายตัวทั้งหมดจะเท่ากับยอดรวมในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป
รูปแบบของบัญชีแยกประเภท ที่นิยมใช้กันทั่วไปมี 2 แบบ
1. แบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (แบบมาตรฐาน) มีลักษณะคล้ายตัวอักษรภาษาอังกฤษ คือตัว T ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ทางด้านซ้ายมือคือด้านลูกหนี้หรือเดบิต (Debit) ทางด้านขวามือคือด้านเจ้าหนี้หรือด้านเครดิต (Credit)
2. แบบบัญชีแยกประเภทย่อย (แบบแสดงยอดดุล) มีลักษณะคล้ายกับรูปแบบของสมุดรายวันทั่วไป แต่มีช่องยอดคงเหลือ เพิ่มขึ้นมา เพื่อแสดงรายการคงเหลือทุกครั้งที่มีการบันทึกรายการและเมื่อต้องการทราบยอดคงเหลือ
งบการเงิน (Financial Statement)
งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึง รายงานทางการเงินที่แสดงฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ วันสิ้นงวดบัญชี อาจจะเป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี
ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วย
1. งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement) หมายถึง งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีผลกำไร หรือ ขาดทุนสุทธิเท่าใดประกอบด้วยรายละเอียดของรายได้และค่าใช้จ่าย
2.งบดุลหรืองบแสดงฐานะกานเงิน (Balance Sheet) หมายถึง งบที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งประกอบด้วยรายละเอียด ของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน)
3.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of changes in owner’s equity)
4.งบกระแสเงินสด (Cash Flow statement)
5.หมายเหตุประกอบเงินการเงิน (Note to Financial Statement)
การจัดทำงบกำไรขาดทุน
1. ส่วนหัวงบ มี 3 บรรทัด คือ
บรรทัดที่ 1 เขียน “ชื่อกิจการ”
บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบกำไรขาดทุน”
บรรทัดที่ 3 เขียนระยะเวลาที่จัดทำงบกำไรขาดทุน
2. เขียนคำว่า “รายได้” ทางด้านซ้ายมือแล้วนำบัญชีรายได้หลักและรายได้อื่น ๆ ของกิจการมาลงรายการโดยเขียน เยื้องไปทางขวามือเล็กน้อย และเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดรายได้ทั้งหมด
3. เขียนคำว่า “ค่าใช้จ่าย” ทางซ้ายมือให้ตรงกับรายได้ และนำบัญชีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเขียนเยื้องไปทาง ขวามือเล็กน้อย พร้อมเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด
4. หาผลต่างระหว่างยอดรวมรายได้ และยอดรวมค่าใช้จ่าย ถ้ายอดรวมรายได้มากกว่ายอดรวมค่าใช้จ่าย ผลต่างคือ กำไรสุทธิ ถ้ายอดรวมค่าใช้จ่ายมากกว่ายอดรวมรายได้ผลต่างคือขาดทุนสุทธิ
การจัดทำงบดุลหรืองบแสดงฐานะการเงิน
1. ส่วนหัวงบ 3 บรรทัด
บรรทัดแรก เขียน “ ชื่อกิจการ ”
บรรทัดที่สอง เขียนกำไรขาดทุนในและบรรทัดที่สามเขียนระยะเวลาบัญชี
2. เขียนคำว่า “ สินทรัพย์ ” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ แล้วนำบัญชีหมวดทรัพย์สินมาลงรายการทางด้านซ้ายมือ และ เขียนจำนวนเงินทางขวามือ
3. เขียนคำว่า “ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ” กลางหน้ากระดาษ แล้วนำบัญชีหมวดหนี้สินมาลงรายการทางซ้ายมือ และเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดหนี้สิน สุดท้ายรวมยอดหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งต้องเท่ากับยอดรวมของสินทรัพย์ ทั้งหมด
Statement of Changes in Owner's Equity งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของเป็นงบการเงินที่แสดงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงในรายการที่เป็นองค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ จากต้นงวดบัญชีไปถึงสิ้นงวดบัญชีโดยแยกแสดงแต่ละรายการตามประเภทของรายการ
การแสดงรายการในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2559) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน กำหนดไว้ว่ากิจการต้องนำเสนองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของตามรายการดังต่อไปนี้
1. กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับงวด ซึ่งแสดงจำนวนรวมที่จัดสรรให้แก่ส่วนของผู้เป็นเจ้าของซึ่งเป็นบริษัทใหญ่และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมแยกออกจากกัน
2. สำหรับแต่ละองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของ ผลกระทบของการนำนโยบายการบัญชีมาปรับปรุงย้อนหลังหรือแก้ไขงบการเงินย้อนหลัง
3. สำหรับองค์ประกอบแต่ละรายการของส่วนของเจ้าของ การกระทบยอดระหว่างยอดยกมา ณ วันต้นงวดและวันสิ้นงวด ให้เปิดเผยการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลจาก
· กำไรหรือขาดทุน
· แต่ละรายการของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
· รายการกับผู้เป็นเจ้าของในฐานะที่เป็นเจ้าของ ซึ่งแสดงเงินทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของและการเปลี่ยนแปลงในส่วนได้เสียของความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยที่ไม่ได้ส่งผลให้สูญเสียการควบคุม
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
Statement of Changes in Owner's Equity งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ เป็นงบการเงินที่แสดงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงในรายการที่เป็นองค์ประกอบอื่นของส่วนของเจ้าของ จากต้นงวดบัญชีไปถึงสิ้นงวดบัญชีโดยแยกแสดงแต่ละรายการตามประเภทของรายการ
การแสดงรายการในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2559) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน กำหนดไว้ว่ากิจการต้องนำเสนองบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของตามรายการดังต่อไปนี้
1. กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับงวด ซึ่งแสดงจำนวนรวมที่จัดสรรให้แก่ส่วนของผู้เป็นเจ้าของซึ่งเป็นบริษัทใหญ่และส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมแยกออกจากกัน
2. สำหรับแต่ละองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของ ผลกระทบของการนำนโยบายการบัญชีมาปรับปรุงย้อนหลังหรือแก้ไขงบการเงินย้อนหลัง
3. สำหรับองค์ประกอบแต่ละรายการของส่วนของเจ้าของ การกระทบยอดระหว่างยอดยกมา ณ วันต้นงวดและวันสิ้นงวด ให้เปิดเผยการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลจาก
· กำไรหรือขาดทุน
· แต่ละรายการของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
· รายการกับผู้เป็นเจ้าของในฐานะที่เป็นเจ้าของ ซึ่งแสดงเงินทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของและการเปลี่ยนแปลงในส่วนได้เสียของความเป็นเจ้าของในบริษัทย่อยที่ไม่ได้ส่งผลให้สูญเสียการควบคุม
งบกระแสเงินสด
บริษัท xxx จำกัด
งบกระแสเงินสด
สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ xx ธันวาคม 25x2
หน่วย : บาท
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
เงินสดรับจากลูกค้า xx
เงินสดรับจากเงินปันผล xx
เงินสดจ่ายให้แก่เจ้าหนี้การค้า (xx)
เงินสดจ่ายค่าดอกเบี้ย (xx)
เงินสดจ่ายค่าภาษีเงินได้ (xx)
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมดำเนินงาน xx
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
เงินสดจ่ายจากการซื้อเงินลงทุนหุ้นสามัญในบริษัทอื่น (xx)
เงินสดจ่ายจากการซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (xx)
เงินสดรับจากการขายเงินลงทุน xx
เงินสดรับจากการขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ xx
เงินสดจ่ายจากการให้กู้ยืม (xx)
เงินสดรับจากการรับชำระคืนเงินกู้ xx
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมลงทุน xx
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
เงินสดรับจากการออกหุ้นสามัญ xx
เงินสดรับจากการออกหุ้นกู้ xx
เงินสดจ่ายจากการซื้อหุ้นทุนคืนมา (xx)
เงินสดรับจากการกู้ยืมระยะยาว xx
เงินสดจ่ายจากการชำระคืนเงินกู้ระยะยาว (xx)
เงินสดจ่ายจากการจ่ายเงินปันผล (xx)
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมจัดหาเงิน xx
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) xx
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นงวด xx
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นงวด xx
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities) หมายถึง กระแสเงินสดจากกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ เป็นผลมาจากรายการต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณกำไรหรือขาดทุน สะท้อนถึงเงินสดที่แท้จริงจากกิจกรรมดำเนินงาน
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Cash Flows from Investing Activities) เป็นกระแสเงินสดที่
เกิดจากกิจกรรมเกี่ยวกับการได้มาและการจา หน่ายสินทรัพย์ระยะยาวและเงินลงทุนอื่นของกิจการ ซึ่งไม่รวมอยู่ในรายการเทียบเท่าเงินสด ซึ่งกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนแสดงให้เห็นถึงรายจ่ายที่กิจการจ่ายไป เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่จะก่อให้เกิดรายได้และกระแสเงินสดในอนาคต ทั้งนี้ เฉพาะรายจ่ายที่ส่งผลให้เกิดการรับรู้สินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินเท่านั้นที่สามารถจัดประเภทเป็นกิจกรรมลงทุน
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (Cash Flows from Financing Activities) เป็นกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขนาดและองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของและส่วนของการกู้ยืมของกิจการ ทั้งนี้ กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในการคาดคะเนสิทธิเรียกร้องในกระแสเงินสดในอนาคตจากผู้ให้เงินทุนแก่กิจการ
หมายเหตุประกอบงบการเงิน
หมายเหตุประกอบงบการเงิน คือ รายการที่แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมจากงบการเงิน เช่น นโยบายการทำบัญชีและเกณฑ์การจัดทำงบการเงิน ข้อมูลเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงอยู่ในงบการเงิน
นโยบายการทำบัญชี เป็นสิ่งที่ทำให้งบการเงินของแต่ล่ะกิจการมีความแตกต่างกันดังนั้นผู้ใช้งานงบการเงินจะต้องอ่านก่อนว่ากิจการนั้น ใช้เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน แบบใดก่อนที่จะอ่านงบการเงิน
ตัวอย่างรายการที่แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
- การรับรู้รายได้
- เจ้าหนี้การเค้า
- ลูกหนี้การค้า
- การตีมูลค่าสินค้าคงเหลือ
- การตัดค่าเสื่อมราคา
ประโยชน์ของหมายเหตุประกอบงบการเงิน
- ใช้ดูจำนวนลูกหนี้การค้า หลายคนคงมีคำถามว่าทำไมต้องดูเพราะว่ามีลูกหนี้การค้ามากก็แสดงว่ากิจการขายสินค้าและบริการได้ดี แต่ก็ไม่เสมอไปลูกหนี้การค้าหากมีมากจนผิดสังเกตุอาจะเกิดจากกิจการมีลูกหนี้การค้าที่ขาดสภาพคล่องทำให้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้เกิดผลเสียต่อกิจการ ดังนั้นผู้ใช้งบการเงินควรสังเกตตรงจุดนี้ให้ดีว่า ลูกหนี้การค้าเป็นอย่างไร ขายสินค้าอะไร มีความสามารถในการจ่ายหนี้หรือไม่
- ใช้ดูการตัดค่าเสื่อมราคา เพราะบางทีอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาทำให้กิจการมีกำไรโตขึ้นมากในรอบบัญชีนั้น ทำให้นักลงทุนเข้าใจผิดว่ากำไรที่ได้นั้นมาจากการดำเนินงาน
- เมื่อผู้ใช้งบการเงินเปรียบเทียบอัตราการทำกำไรกับกิจการคู่แข่งแล้วพบว่า กิจการสามารถทำอัตรากำไรได้มากว่าหรือแตกต่างมากๆ อาจจะมีผลมาจากทั้งสองกิจการมีนโยบายการทำบัญชีที่แตกต่างกัน
- เมื่อพบว่ากิจการมีรายได้โตขึ้นมากๆ ผู้ใช้งบการเงินต้องตรวจดูว่ากิจการมีนโยบายการรับรู้รายได้แบบใด
- รายการอื่นๆ ที่ไม่ได้แสดงในงบการเงิน
ประเภทของรหัส (Types of codes)
หมวดที่ 1 หมวดสินทรัพย์ รหัสบัญชีคือ 1
หมวดที่ 2 หมวดหนี้สิน รหัสบัญชีคือ 2
หมวดที่ 3 หมวดส่วนของเจ้าของ รหัสบัญชีคือ 3
หมวดที่ 4 หมวดรายได้ รหัสบัญชีคือ 4
หมวดที่ 5 หมวดค่าใช้จ่าย รหัสบัญชีคือ 5
เลขที่บัญชีจะมีจำนวนกี่หลักนั้น ขึ้นอยู่กับกิจการแต่ละแห่ง ถ้าเป็นกิจการขนาดเล็กที่มีจำนวนบัญชีต่าง ๆไม่มาก ก็อาจจะใช้เลขที่ บัญชี จำนวน 2 หลัก แต่ถ้าหากเป็นกิจการขนาดใหญ่และบัญชีต่าง ๆ เป็นจำนวนมากก็อาจจะกำหนดเลขที่บัญชีให้มีหลายหลัก อาจจะเป็น 3 หรือ 4 หลักหรือมากกว่านั้น
เลขที่บัญชีหลักแรก แสดงถึงหมวดของบัญชี และหลักหลังแสดงถึงบัญชีต่าง ๆ ในหมวดนั้น ๆ ซึ่งในแต่ละหมวดจะถูกกำหนดด้วยหลักเกณฑ์แตกต่างกันไป โดย
- หมวดสินทรัพย์ หลักหลังของเลขที่บัญชีจะเรียงตามสภาพคล่องของสินทรัพย์ โดยเรียงจากสภาพคล่องมากไปสภาพคล่องน้อย เช่น เลขที่บัญชีของเงินสด จะมาก่อนเลขที่บัญชีของลูกหนี้ เป็นต้น
- หมวดหนี้สินก็จะเรียงตามสภาพคล่องของหนี้สิน เช่น เลขที่บัญชีของเจ้าหนี้จะมาก่อนเลขที่บัญชีของเงินกู้ระยะยาว เป็นต้น
- หมวดส่วนของเจ้าของ หลักหลังของเลขที่บัญชีจะเรียงตามการเกิดขึ้นก่อนหลัง เช่น การที่นำสินทรัพย์มาลงทุนทำให้เกิดบัญชีทุนก่อนที่เจ้าของ กิจการจะมีการถอนใช้ส่วนตัว จึงทำให้เลขที่บัญชีทุนมาก่อนเลขที่บัญชีถอนใช้ส่วนตัว
- หมวดรายได้ หลักหลังของเลขที่บัญชีจะเรียงความสำคัญของรายได้
-หมวดค่าใช้จ่าย หลักหลังของเลขที่บัญชีจะเรียงความสำคัญของค่าใช้จ่าย
รหัสตัวเลขเป็นตอน (Block Codes)
เป็นการกำหนดรหัสบัญชีแต่ละชุดไว้สำหรับบัญชีแต่ละประเภท วิธีนี้ไม่ต้องใช้ตัวเลขหลายหน่วย และมักมีจะการกำหนดรหัสเปล่าไว้ล่วงหน้า เผื่อมีการเพิ่มบัญชีประเภทนั้นๆ ในอนาคต
รหัสตัวเลขเป็นกลุ่ม (Group Codes)
การรวมโค้ดย่อย 2 โค้ดขึ้นไป เช่น รหัสบัญชี 4401111
3 ตำแหน่งแรก 440 เป็นบัญชีรายได้ เช่น รายได้จากการขาย
2 ตำแหน่งถัดมา 11 เป็นแผนก เช่น แผนกขาย
2 ตำแหน่งถัดมา 11 เป็นบัญชีย่อย เช่น บัญชีขายรถยนต์
รหัสอักษร
เป็นการกำหนดตัวอักษรเป็นรหัสบัญชี วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมมากนักเพราะจดจำยาก เช่น
บัญชีเงินสด รหัสบัญชี คือ A หรือ AA (อักษร A มาจาก Asset หมายถึง สินทรัพย์)
รหัสตัวเลขและตัวอักษร
เป็นการใช้ตัวอักษรแสดงประเภทของบัญชีและตัวเลขแสดงชนิดและชื่อบัญชี เช่น
บัญชีเงินสด รหัสบัญชี คือ A110
การรวบรวมและการรายงานข้อมูลทางบัญชี
การออกแบบ AIS
· มีประสิทธิภาพ
· พิจารณาผลลัพธ์จากระบบ
Outputs ของ AIS ประกอบด้วย
· รายงานต่อฝ่ายบริหาร
· รายงานต่อนักลงทุนและเจ้าหนี้
· ไฟล์ที่เก็บข้อมูลทำธุรกรรม
· ไฟล์ที่เก็บข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับบัญชี
ข้อควรพิจารณาในการออกแบบรายงาน
รายงาน
· ควรมีประโยชน์สำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร
· ไม่ควรสร้างข้อมูลเกินพิกัด
รูปแบบของรายงาน
· มีการระบุพื้นฐาน
· สะดวก และ
· คงเส้นคงวา
กระบวนการธุรกิจหลัก
AIS
· เก็บ และ
· รายงานข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทางธุรกิจซึ่งเป็นชุดของกิจกรรม
เหตุการณ์ทางธุรกิจ
· เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
· งบการเงินระหว่างกัน (ธุรกรรมทางบัญชี)
กิจกรรมทางธุรกิจ
· เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ
· ไม่ส่งผลกระทบต่องบการเงิน
กระบวนการขาย
ขั้นตอนการขาย
· เริ่มต้นด้วยคำสั่งซื้อของลูกค้าสำหรับสินค้าหรือบริการ และ
· ลงท้ายด้วยการเก็บเงินจากลูกค้า
วัตถุประสงค์หลัก
· ทันเวลา และ
· การจัดเก็บรายได้ทีมีประสิทธิภาพ
องค์กรที่สร้างรายได้แต่ไม่สามารถรวบรวมรายได้เหล่านี้ได้ทันเวลา อาจพบว่าอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถชำระค่าใช้จ่ายได้
วัตถุประสงค์ของกระบวนการขาย
· ติดตามการขายสินค้าและ/หรือบริการให้กับลูกค้า
· กรอกคำสั่งของลูกค้า
· การเรียบเก็บเงินลูกค้าสำหรับสินค้าและบริการ
· การเก็บเงินสำหรับสินค้าและบริการ
· การคาดการณ์ว่าการขายและใบเสร็จรับเงิน
ขั้นตอนการขาย – Inputs
ใบสั่งขาย
· ก่อนหน้านี้มักจัดทำขั้นในหลายสำเนาและใช้เพื่อเตรียมใบแจ้งหนี้การขาย
ใบแจ้งหนี้การขาย
· จัดทำขั้นหลังจากจัดส่งสินค้าหรือให้บริการ
คำแนะนำการโอน
· ทำหน้าที่เป็นเอกสารต้นฉบับสำหรับเครดิตให้กับบัญชีลูกหนี้
การแจ้งเตือนการจัดส่ง
ใบลดหนี้/ใบเพิ่มหนี้
ขั้นตอนการขาย – Outputs
ข้อมูลงบการเงิน
คำชี้แจ้งการเรียกเก็บเงินของลูกค้ารวมถึง
· ขาย
· ผลตอบแทน และ
· ใบเสร็จรับเงิน
รายงานอายุของลูกหนี้
· มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานะของยอดคลเหลือค้างของลูกค้าสินเชื่อที่ใช้งานอยู่ทั้งหมด
· จัดเรียงจำนวนเงินที่ค้างชำระตามช่วงเวลา
รายงานหนี้สูญ
· รับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการติดตามหนี้สำหรับบัญชีลูกค้าที่ค้างชำระ
การพยากรณ์การรับเงินสด
· ข้อมูลจากเอกสารต้นทางในการธุรกรรมรายได้เป็นอินพุต
รายชื่อลูกค้าที่ผ่านการอนุมัติ
· รายการรหัสลูกค้ารายชื่อที่อยู่สำหรับจัดส่งและเรียกเก็บเงินวงเครดิตและเงื่อนไขการเรียบเก็บ
รายการวิเคราะห์การขาย
· ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับการขายแต่ละครั้งเพื่อตรวจสอบกิจกรรมการขายและวางแผนการผลิตและการตลาด
กระบวนการจัดซื้อ
เริ่มต้นด้วยคำขอสินค้าหรือบริการ
สิ้นสุดด้วยการจ่ายเงินให้ผู้ขาย
ซื้ออาจจะเป็น
· ทั้งสินค้า
· หรือบริการ
ซื้อได้
· ด้วยเงินสด หรือ
· ในเครดิต
วัตถุประสงค์หลักของกระบวนการจัดซื้อ
· ติดตามการซื้อสินค้า/หรือบริการจากผู้ขาย
· จำนวนเงินติดตามหนี้
· การเก็บรักษาบันทึกผู้ขาย
· การควบคุมสินค้าและคงคลัง
· ทำการชำระเงินผู้ขายที่ตรงเวลาและถูกต้อง
· การพยากรณ์การซื้อและการจ่ายเงินออก
กระบวนการจัดซื้อ – Inputs
· ใบขอเสนอซื้อ
· คำสั่งซื้อ
· ใบแจ้งหนี้ของผู้ขาย
· รับรายงาน
· ใบเบิก
· สลิปบรรจุภัณฑ์
· ใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้
กระบวนการจัดซื้อ – Outputs
· ข้อมูลงบการเงิน
· ตรวจสอบผู้ขาย
· ตรวจสอบการลงทะเบียน/ทะเบียนคุมเช็ค
· รายงานความคลาดเคลื่อน
· การพยากรณ์ความต้องการเงินสด
· รายงานการวิเคราะห์การซื้อ
อ้างอิง
http://www.pw.ac.th/emedia/media/tech/accounting1/lesson8.php
www.fap.or.th.
www.pymlo.com/th/งบการเงินที่สมบูรณ์
http://www.schoolofstock.in.th/งบแสดงการเปลี่ยนแปลง
http://doithai.com/article/56
http://www.pw.ac.th/emedia/media/tech/accounting1/lesson4.php
(ชีทประกอบการเรียนการสอนวิชา Accounting Information System มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี)
Comments